วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559


โครงงานคอมพิวเตอร์

เรื่อง สัตว์ป่าสงวน


จัดทำโดย
1. นาย ทิวากร พรมแก้ว เลขที่ 6

2. นางสาว นงนภัส มณี เลขที่ 17

3. นางสาว อารยา แสงทอง เลขที่ 28

อาจารย์ที่ปรึกษา

อาจารย์ สุรมย์ รุ่งเรือง


โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558

โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก)
สังกัดเทศบาลนครสงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา




หัวข้อโครงงาน                   :  สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน

ประเภทของโครงงาน         : การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

ผู้เสนอโครงงาน                  :   1.นาย ฐิติศักดิ์     พิทักษ์    
                                                  2. นายรุ่งภพ        หอยแก้ว                                      

ครูที่ปรึกษาโครงงาน          : อาจารย์  สุรมย์  รุ่งเรือง

ปีการศึกษา                         : 2558



บทคัดย่อ

               ''สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน''นี้เป็นโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Education Media Development) ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทนี้ คือ เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา ซึ่งผู้จัดทำจะใช้ Blogger ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษาเรื่อง “สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน” เป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลาย โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร  เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน



กิตติกรรมประกาศ

                โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความช่วยเหลืออย่างดียิ่งของ อาจารย์ สุรมย์  รื่นรม อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ที่ได้ให้คำแนะนำ และข้อคิดเห็นต่างๆมาโดยตลอด และ ขอขอบคุณ และขอบใจ ครอบครัวและเพื่อนๆของผู้จัดทำโครงงาน ที่คอยให้กำลังใจ และถามไถ่ความเป็นไปของโครงงานอยู่เสมอ ทำให้ผู้จัดทำโครงงานมีกำลังใจที่จะพัฒนาโครงการจนสำเร็จได้ ผู้จัดทำโครงงานขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้

                                                                                                     ผู้จัดทำ             
                                                                นาย ฐิติศักดิ์     พิทักษ์   
นายรุ่งภพ        หอยแก้ว



สารบัญ
         เรื่อง                                                                                                               หน้า
บทคัดย่อ                                                                                                                   
กิตติกรรมประกาศ                                                                                                      
บทที่ 1  บทนำ                                                                                                            1
               แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
               วัตถุประสงค์                                                                                              
               ขอบเขตของโครงงาน                          
               ผลที่คาดว่าจะได้รับ      
                                                                                            
บทที่ 2  เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                         2
               ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและอินเทอร์เน็ต
               เว็บบล็อก (WebBlog)                  

บทที่ 3 วิธีดำเนินงานโครงงาน                                                                                    11
               วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรื โปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา
               ขั้นตอนการดำเนินงาน                                      
บทที่ 4 ผลการดำเนินงานโครงงาน                                                                              13
               ผลการพัฒนาเว็บบล็อก                   
     
บทที่ 5 สรุปผลการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะ                                                         14
               การดำเนินงานจัดทำโครงงาน         
               สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน     
               ข้อเสนอแนะ    

บรรณานุกรม                                                                                                                 



บรรณานุกรม
https://th.wikipedia.org/wiki/สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
#.E0.B8.A0.E0.B8.B9.E0.B8.A1.E0.B8.B4.E0.B8.A8.E0.B8.B2.E0.B8.AA.E0.B8.95.E0.B8.A3.E0.B9.8C

http://www.thai-aec.com/ประเทศอาเซียน-10-ประเทศ


https://mail.google.com/mail/u/0/#inbox




บทที่ 1
บทนำ
สาระสำคัญของโครงงาน
            เทคโนโลยีทางการสื่อสาร เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน เริ่มมีบทบาทในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ และมีส่วนช่วยสนับสนุนสื่อทางด้านการศึกษาอีกด้วยโดยสื่อสมัยใหม่นิยมเป็น สื่อการเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพราะ สะดวกรวดเร็วและเข้าถึงได้ง่าย
            ในปีพ.ศ.2558นี้ประเทศไทยได้เข้าสู่ประชาคมอาเซียน อย่างเต็มตัว เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศในหลายๆด้าน แต่ประชาชนหลายๆคนยังไม่รู้เลยว่า 'อาเซียนคืออะไร
            ข้าพเจ้าจึงคิดทำโครงงานเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อทางการศึกษาเรื่อง ''สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน''โดยได้รวบรวมข้อมูล เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนและจัดทำเป็นเว็บบล็อก   เพื่อเป็นประโยชน์กับบุคคลที่สนใจและเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

วัตถุประสงค์
                  1.  เพื่อศึกษาและพัฒนาเว็บบล็อก เรื่อง สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน
                  2.  เพื่อเป็นสื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                  3.   เพื่อเป็นประโยชน์กับบุคคลที่สนใจทั่วไป

ขอบเขตการศึกษา
            ศึกษาโครงงานเกี่ยวกับ ประชาคมอาเซียน เพื่อพัฒนาสื่อผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยใช้โปรแกรม Blogger นำเสนอ

ประโยชน์ที่ได้รับ
1.            ได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
2.             ได้สื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน



บทที่ 2
เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

            การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เรื่อง สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน คณะผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้าเสนอเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

ประชาคมอาเซียน
  สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษAssociation of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ไทย บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซียลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,435,670 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 590 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2553 จีดีพีของประเทศสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นลำดับที่ 9 ของโลกเรียงตามจีดีพี อาเซียนมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ
  อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน ปฏิญญากรุงเทพ อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะประกอบด้วยสามด้าน คือ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558
·       วัตถุประสงค์

  จากสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการสรุปแนวทางของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้จำนวนหกข้อ ดังนี้
1.            ให้ความเคารพแก่เอกราช อำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด
2.            รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิที่จะปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอก การรุกรานดินแดนและการบังคับขู่เข็ญ
3.            จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่น ๆ
4.            ยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน หรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติ
5.            ประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กำลัง
6.            ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ
·       ภูมิศาสตร์
  ในปัจจุบัน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยประเทศสมาชิกจำนวน 10 ประเทศ คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 560 ล้านคน (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2549)  ยอดเขาที่สูงสุดในภูมิภาค คือ ยอดเขาคากาโบราซีในพม่า ซึ่งมีความสูง 5,881 เมตร และมีอาณาเขตติดต่อกับจีน อินเดีย บังกลาเทศ
  ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 27-36 °C พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าฝนเขตร้อน ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลก ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าสน ป่าหาดทรายชายทะเล ป่าไม้ปลูก มีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง สับปะรด ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และพริกไทย
·       การเมือง
ประธานอาเซียน
  กฎบัตรอาเซียน ข้อ 31 ระบุว่า ตำแหน่งประธานอาเซียนจะเวียนกันทุกปีตามลำดับพยัญชนะภาษาอังกฤษของชื่อรัฐสมาชิก รัฐสมาชิกที่เป็นประธานจะเป็นประธานการประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สภาประสานงานอาเซียน สภาประชาคมอาเซียนสามสภา องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขาและข้าราชการอาวุโส และคณะกรรมาธิการผู้แทนถาวร ประเทศพม่าเป็นประธานในปี 2557
สำนักเลขาธิการ
  สำนักเลขาธิการอาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของอาเซียนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2519 ในตอนนั้นตั้งอยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศของอินโดนีเซีย สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่ 70A Jalan Sisingamangaraja กรุงจาการ์ตา ซึ่งซูฮาร์โต ประธานาธิบดีอินโดนีเซียขณะนั้น ก่อตั้งในปี 2524
  หน้าที่หลักของสำนักเลขาธิการอาเซียนคือเพิ่มประสิทธิภาพการประสานงานขององค์กรอาเซียน และให้การนำโครงการและกิจกรรมของอาเซียนไปปฏิบัติมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เลขาธิการ
            เลขาธิการอาเซียนได้รับแต่งตั้งโดยการประชุมสุดยอดอาเซียนเป็นระยะเวลาดำรงตำแหน่งห้าปี สมัยเดียว โดยเลือกมาจากผู้มีสัญชาติรัฐสมาชิกอาเซียนตามลำดับพยัญชนะภาษาอังกฤษ
  เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน คือ เล เลือง มิญ ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2556–2561
·       ประชาคมเศรษฐกิจ


ชาติสมาชิกอาเซียนตาม
ดัชนีการพัฒนามนุษย์
[45]:160–162
ประเทศ
ดัชนี (2557)
0.912
สูงมาก
0.856
สูงมาก
0.779
สูง
0.726
สูง
0.684
ปานกลาง
0.673
ปานกลาง
0.668
ปานกลาง
0.666
ปานกลาง
0.575
ปานกลาง
0.555
ปานกลาง
0.536
ต่ำ

  กลุ่มอาเซียนได้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือในภูมิภาค อันประกอบด้วย "หลักสามประการ" ของความมั่นคง สังคมวัฒนธรรมและการรวมตัวทางเศรษฐกิจ การรวมกลุ่มกันในภูมิภาคได้ทำให้การรวมตัวทางเศรษฐกิจดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งคาดว่าจะประสบความสำเร็จในการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558 ประชาคมเศรษฐกิจดังกล่าวจะมีประชากรรวมกัน 560 ล้านคน และมูลค่าการค้ากว่า 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
เขตการค้าเสรี
  รากฐานของการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเริ่มต้นมาจากเขตการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งเป็นการลดอัตราภาษีศุลกากรเพื่อให้สินค้าภายในอาเซียนเกิดการหมุนเวียน เขตการค้าเสรีอาเซียนเป็นข้อตกลงโดยสมาชิกกลุ่มอาเซียนซึ่งกังวลต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่นของตน ได้รับการลงนามในสิงคโปร์เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2535 ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ คือ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย เวียดนาม (เข้าร่วมในปี 2538) ลาว พม่า (เข้าร่วมในปี 2540) และกัมพูชา (เข้าร่วมในปี 2542)
เขตการลงทุนร่วม
  เขตการลงทุนร่วมมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนหมุนเวียนภายในอาเซียน ซึ่งประกอบด้วยหลักการดังต่อไปนี้:
·         เปิดให้อุตสาหกรรมทุกรูปแบบเกิดการลงทุนและลดขั้นตอนตามกำหนดการ
·         ทำสัญญากับผู้ลงทุนในกลุ่มอาเซียนที่เขามาลงทุนในทันที
·         กำจัดการกีดขวางทางการลงทุน
·         ปรับปรุงกระบวนการและระเบียบการลงทุนให้เกิดความคล่องตัว
·         สร้างความโปร่งใส
·         ดำเนินการตามมาตรการอำนวยความสะดวกในการลงทุน
  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากเขตการลงทุนร่วมจะเป็นการกำจัดการกีดกันในกิจการเกษตรกรรม การประมง การป่าไม้และการทำเหมืองแร่ ซึ่งคาดว่าจะสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2553 สำหรับประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนเป็นส่วนใหญ่ และคาดว่าจะสำเร็จในปี พ.ศ. 2558 สำหรับประเทศกัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม

การแลกเปลี่ยนบริการ
  ข้อตกลงการวางกรอบเรื่องการแลกเปลี่ยนบริการเริ่มต้นขึ้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่กรุงเทพมหานครในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 ภายใต้กรอบข้อตกลงดังกล่าว รัฐสมาชิกของกลุ่มอาเซียนจะสามารถประสบความสำเร็จในการเจรจาอย่างเสรีในด้านการแลกเปลี่ยนบริการ โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างกันมากขึ้น ผลของการเจรจาการแลกเปลี่ยนบริการซึ่งได้เริ่มดำเนินการตามหมายกำหนดการเป็นรายเฉพาะจะถูกรวมเข้ากับกรอบข้อตกลง ซึ่งหมายกำหนดการดังกล่าวมักจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มการแลกเปลี่ยนบริการ ในปัจจุบัน พบว่ามีกลุ่มการแลกเปลี่ยนบริการจำนวนเจ็ดกลุ่มภายใต้กรอบข้อตกลงดังกล่าว
ตลาดการบินเดียว
  แนวคิดเรื่องตลาดการบินเดียวเป็นความคิดเห็นที่เสนอโดยกลุ่มงานขนส่งทางอากาศอาเซียน ได้รับการสนับสนุนในการประชุมการขนส่งอย่างเป็นทางการของอาเซียน และได้รับการอนุมัติโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคมนาคมของรัฐสมาชิก ซึ่งจะนำไปสู่การจัดระเบียบน่านฟ้าเปิดในภูมิภาคภายในปี พ.ศ. 2558 โดยตลาดการบินเดียวมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดการคมนาคมทางอากาศระหว่างรัฐสมาชิกเป็นไปอย่างเสรี ซึ่งสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มอาเซียนจากการเติบโตของการเดินทางทางอากาศในปัจจุบัน และยังเป็นการเพิ่มการท่องเที่ยว การค้า การลงทุนและการบริการให้กับรัฐสมาชิกทั้งหมด เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ข้อจำกัดเสรีภาพทางอากาศที่สามและที่สี่ระหว่างเมืองหลวงของรัฐสมาชิกสำหรับบริการสายการบินจะถูกยกเลิก ในขณะที่หลังจากวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 จะมีเสรีภาพบริการการบินในภูมิภาค และภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 จะมีการเปิดเสรีเสรีภาพทางอากาศข้อที่ห้าระหว่างเมืองหลวงทั้งหมด
ข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศนอกกลุ่มอาเซียน
  อาเซียนได้เปิดการค้าเสรีกับประเทศภายนอกหลายประเทศ ทั้งจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และล่าสุด อินเดีย ข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศจีนได้สร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน ในปัจจุบัน อาเซียนนั้นกำลังเจรจากับสหภาพยุโรปในการที่จะทำการค้าเสรีด้วยกันผลดีของข้อตกลงนั้น คือการเปิดโอกาสการค้าของอาเซียน ให้มีศักยภาพและขยายตัวมากขึ้น รวมไปถึงการลงทุนจากต่างชาติด้วย ไต้หวันยังแสดงความสนใจที่จะทำข้อตกลงกับอาเซียน แต่ได้รับการคัดค้านทางการทูตจากประเทศจีน
·       ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม
  เมื่อก้าวเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 21 ประเด็นปัญหาเริ่มมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยกลุ่มประเทศสมาชิกได้เริ่มเจรจากันถึงข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม รวมไปถึง การลงนามในความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน ในปี พ.ศ. 2545 ในความพยายามที่จะจำกัดขอบเขตของมลภาวะฟ้าหลัวในเขตพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  แต่ทว่าในพื้นที่ก็ยังเกิดปัญหาฟ้าหลัวในประเทศมาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2548 และปัญหาฟ้าหลัวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2549 ส่วนสนธิสัญญาฉบับอื่นที่ได้รับการลงนามโดยสมาชิกอาเซียนได้แก่ ปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก เครือข่ายกำกับดูแลสัตว์ป่าอาเซียนในปี พ.ศ. 2549 และ หุ้นส่วนเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยการพัฒนาความสะอาดและสภาพอากาศ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อปรากฏการณ์โลกร้อน และผลกระทบทางด้านลบต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ใน พ.ศ. 2550 ปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก ซึ่งลงนามในกลุ่มอาเซียน ร่วมกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงทางพลังงานด้วยการหาพลังงานทางเลือกเพื่อใช้ทดแทนเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์.
·       ความร่วมมือทางวัฒนธรรม
  ความร่วมมือทางวัฒนธรรมนั้น มีจุดประสงค์เพื่อที่จะช่วยสร้างภาพรวมในด้านต่าง ๆให้ดีขึ้น โดยการให้การสนับสนุน ทั้งการกีฬา การศึกษา และกิจกรรมอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ความร่วมมือต่าง ๆ ดังนี้
รางวัลซีไรต์
  ได้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2522 เพื่อมอบรางวัลแก่นักประพันธ์หรือนักเขียนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ได้สร้างผลงานที่ดีมีชื่อเสียง ที่ประสบความสำเร็จในช่วงชีวิตของนักเขียนนั้น ๆ ผลงานนั้นเป็นผลงานเขียนทุกประเภท ทั้งวรรณกรรมต่าง ๆ เรื่องสั้น กลอน รวมไปถึงผลงานทางศาสนา ซึ่งจะมีการจัดงานที่กรุงเทพมหานคร โดยมีเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์ไทยเป็นผู้พระราชทานรางวัล


สถาบันเพื่อการศึกษาขั้นสูงแห่งอาเซียน
  เป็นองค์การเอกชนที่จัดตั้งขึ้น ในปี พ.ศ. 2499 เพื่อที่จะพัฒนาระดับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น ทั้งสถาบันการศึกษาระดับสูง การสอน การบริการสาธารณะที่ดีได้มาตรฐานที่สูงขึ้น โดยสอดคล้องไปกับวัฒนธรรมและพื้นที่นั้น ๆ
อุทยานมรดก
  ได้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2527 และเริ่มใหม่อีกรอบในปี พ.ศ. 2547 เป็นการรวมรายชื่อของอุทยานแห่งชาติทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีจุดประสงค์ที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าไม้ ปัจจุบันมีรวมทั้งหมด 35 แห่ง

การสร้างเว็บบล็อก (Blogger)
·         ขั้นตอนที่ เข้าไปที่เว็บ http://www.blogger.com จะขึ้นหน้าจอตามรูป
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgvujDA6Zi5iIAxmRvv3pvoSlm-7N3ijmq03shlOMF4X9iw-PrswxHTTuVV0yFU9cKA4-YY6ZfNJ-t14uXtp4iiONETSq0e2XdXHGhkn4r4pehHXIVeCcEKwtlHxQNsje309SVhXqNmqNg/s320/7.jpg

·         ขั้นตอนที่ 2 จากนั้นทำการสมัคร (สำหรับบุคคลที่ยังไม่มี Gmail ) ถ้ามีแล้วให้ล๊อกอินได้เลย


https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh6oxtKBx3EEPicnandVTOvip6Cg0W-NgsY5A066tEoT91msDVjuk8k_YEdfnrF2MvFcjnYiqw-UcktSzz2ICuO61dymeytQsArb7_ODI6knP8kb-Pjt1i_5Eswz7v-SN819aoobYQ9umY/s1600/6.jpg

·         ขั้นตอนที่ 3 ให้กรอกข้อมูลตามความเป็นจริง

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhdpa5gzSjyAfFQ93J_4K10R9RQipvmz_K0liRkCnIJ2gq9lu_p1rc7IATucZRgivVG0bwUQQS8mW0VpowV88YqDyDUJomnMA_9IvShh0j6siFKUfDbTIBN30ZCtkHXt2RHOE1ADj_in4Y/s1600/5.jpg

·         ขั้นตอนที่ 4  คลิกที่ปุ่มสร้างบล๊อกใหม่

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjsvuHhp-6PnZdBb4rluFf0XrreT6Lis_M0vJqMXnR9Lde0dJ74pauElwIU67ZBfLNLbTwODVqwi7-kQ6DlXzxZK02M5xr8kh-qelVIwRx5NEn0G6k2vg6kkLtd41advZS7aDiDl-kCmeY/s1600/4.jpg

·         ขั้นตอนที่5   พอคลิกแล้วจะขึ้นตามรูปจากนั้นให้กรอกข้อมูลลงไป เลือกแม่แบบตามใจชอบ

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjI-S8C3LDgG4ki8UG2VDjFbdqnNbLn7hZ3ope2lIbElY9CCVsBA6vULqWgpHjUVQFcNTC6Qvd9p6l1U_Df2eHz5W9Mipets4HYdmA3nAExxkTuNIFmCz_O02mp0bgkMZmiVLbH7sE-vb8/s1600/3.jpg

·         ขั้นตอนที่ 6  คลิกปุ่มตามรูป

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjpGLGciiqt5gYQwHkXz6plbbsPKntIGm44FMBcHguBp62fm9VIizk6U_LvQCLnE2bT1PhCcCnK611blhcSc4hf9u0qiEk_hsqku7J6kXMj1mUcxxxSy0_Zbs3VeK5NqImFmeKc3E8QYnA/s1600/2.jpg

·         ขั้นตอนที่ 7  ใส่ข้อมูลต่างๆ

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhwldkPHqghPXCSFZAKrBtvbJD7BFwlrocztsb7F8mOeTE68_0r5KTr7k_mJINqPXZ6TboiRAXY4ftU5RXPm6d2H__JHEyApheSb7meZvF7u85OfZVFIYtP_647jmlW0L7Cx_ynvsqGpf0/s1600/1.jpg


·         ขั้นตอนที่ 8  คลิกปุ่ม "แสดงตัวอย่าง" ถ้าชอบแล้วกดบันทึก






บทที่ 3
วิธีการดำเนินโครงงาน

วัสดุและอุปกรณ์
                  -  โปรแกรม Microsoft Word 2013
                  -  เว็บไซต์ที่ให้บริการคือ http://www.blogger.com/  
                  -  เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารคือ www.facebook.com  , www.gmail.com ,   www.google.com

วิธีการดำเนินโครงงาน

ที่
ขั้นตอนในการดำเนินงาน
ระยะเวลาในการดำเนินงาน
สัปดาห์ที่ 1
สัปดาห์ที่ 2
สัปดาห์ที่ 3
สัปดาห์ที่ 4
1
คิดชื่อหัวข้อโครงงาน
2
ศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูล
3
จัดทำเค้าโครงงานเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
4
ศึกษาโปรแกรมBlogger ในการสร้าง
5
ออกแบบสื่อBlogger
6
จัดทำโครงงานสร้าง สื่อ Blogger เรื่องโรคมะเร็ง
7
นำเสนอผ่านโปรแกรมBlogger
8
ทำเอกสารสรุปโครงงาน





บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน
            การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog)  เรื่อง สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน นี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) และค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน เพื่อให้ผู้จัดทำโครงงานสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างครู เพื่อนและผู้สนใจทั่วไป  ซึ่งมีผลการดำเนินงานโครงงาน ดังนี้

ผลการพัฒนาเว็บบล็อก    
                        การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) เรื่อง สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน นี้ ผู้จัดทำได้เริ่มดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว แล้วได้สมัครเป็นสมาชิกเว็บบล็อกที่ชื่อ https://aeczuzy.blogspot.com/จากนั้นได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยได้นำเผยแพร่ที่เว็บบล็อกชื่อ http://aeczuzy.blogspot.comซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับสื่อสังคมในรูปแบบของ Social Media ประเภทเว็บไซต์ facebook ของผู้จัดทำที่ชื่อ Kot'z  rungpop'm ทั้งนี้เว็บบล็อกดังกล่าว สามารถจัดการและเชื่อมต่อกับเว็บไซต์อื่นๆ ได้เป็นอย่างดี โดยทั้งครูที่ปรึกษา เพื่อนๆในห้องเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ โดยแสดงความเห็นในเนื้อหาและรูปแบบของการนำเสนออย่างหลากหลาย ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์อย่างหลากหลายและรวดเร็ว 




บทที่ 5
สรุป   อภิปรายและข้อเสนอแนะ

            การจัดทำโครงงานสื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน นี้สามารถสรุปผลการดำเนินโครงงาน และข้อเสนอแนะ ดังนี้
      5.1     การดำเนินงานจัดทำโครงงาน
                  5.1.1 วัตถุประสงค์ของโครงงาน
                              1.  เพื่อศึกษาและพัฒนาเว็บบล็อก เรื่อง สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน
                              2.  เพื่อเป็นสื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                              3.   เพื่อเป็นประโยชน์กับบุคคลที่สนใจทั่วไป
                  5.1.2  วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา
                              1. โปรแกรม Microsoft Word 2010
                              2.  เว็บไซต์ที่ให้บริการคือ http://www.blogger.com/  
3.เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารคือ www.facebook.com  ,www.gmail.com,  www.google.com

5.2 สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
            การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) เรื่อง สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน นี้ ผู้จัดทำได้เริ่มดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว แล้วได้สมัครเป็นสมาชิกเว็บบล็อกที่ชื่อ https://aeczuzy.blogspot.com/จากนั้นได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยได้นำเผยแพร่ที่เว็บบล็อกชื่อ http://aeczuzy.blogspot.comซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับสื่อสังคมในรูปแบบของ Social Media ประเภทเว็บไซต์ facebook ของผู้จัดทำที่ชื่อ Kot'z  rungpop'm ทั้งนี้เว็บบล็อกดังกล่าว สามารถจัดการและเชื่อมต่อกับเว็บไซต์อื่นๆ ได้เป็นอย่างดี โดยทั้งครูที่ปรึกษา เพื่อนๆในห้องเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ โดยแสดงความเห็นในเนื้อหาและรูปแบบของการนำเสนออย่างหลากหลาย ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์อย่างหลากหลายและรวดเร็ว 


5.3 ข้อเสนอแนะ       
            - เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก คือ เป็นเว็บบล็อกสำเร็จรูปที่ใช้ทำเว็บไซต์ได้ง่าย และรวดเร็ว  แต่ถ้าเราใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม  ก็จะส่งผลต่อการละเมิดลิขสิทธิ์และได้รับความรู้ที่ไม่ถูกต้อง   เพราะฉะนั้นผู้จัดทำควรเผยแพร่สิ่งที่ดี ๆ ให้บุคคลที่เข้ามาเยี่ยมหรือศึกษาได้ความรู้และสิ่งดี ๆ นำไปเผยแพร่ต่อให้ผู้อื่นมาศึกษาความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อไป
            - ควรมีการจัดทำเนื้อหาของโครงงานให้หลากหลายให้ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
            - ควรมีการจัดทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเพิ่มเติม

5.4 ปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนา
            - ด้วยระยะเวลาอันจำกัด รวมทั้งกิจกรรมของโรงเรียน จึงทำให้การพัฒนาเว็บบล็อกเกิดความล่าช้าตามไปด้วย
            - ด้วยระยะทางที่อยู่อาศัยของผู้จัดทำทั้งสองห่างไกลกันมากจึงเป็นอุปสรรคต่อการติดต่อสื่อสารและการทำงาน