โครงงานคอมพิวเตอร์
เรื่อง สัตว์ป่าสงวน
2. นางสาว นงนภัส มณี เลขที่ 17
3. นางสาว อารยา แสงทอง เลขที่ 28
อาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์ สุรมย์ รุ่งเรือง
โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558
โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก)
สังกัดเทศบาลนครสงขลา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา
หัวข้อโครงงาน
: สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน
ประเภทของโครงงาน : การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
ผู้เสนอโครงงาน :
1.นาย ฐิติศักดิ์ พิทักษ์
2. นายรุ่งภพ
หอยแก้ว
ครูที่ปรึกษาโครงงาน : อาจารย์ สุรมย์ รุ่งเรือง
ปีการศึกษา
: 2558
บทคัดย่อ
''สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน''นี้เป็นโครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Education
Media Development) ลักษณะเด่นของโครงงานประเภทนี้ คือ
เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา ซึ่งผู้จัดทำจะใช้ Blogger ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษาเรื่อง “สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน” เป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลาย โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร
การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร
เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความช่วยเหลืออย่างดียิ่งของ
อาจารย์ สุรมย์ รื่นรม อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ที่ได้ให้คำแนะนำ และข้อคิดเห็นต่างๆมาโดยตลอด และ
ขอขอบคุณ และขอบใจ ครอบครัวและเพื่อนๆของผู้จัดทำโครงงาน ที่คอยให้กำลังใจ
และถามไถ่ความเป็นไปของโครงงานอยู่เสมอ
ทำให้ผู้จัดทำโครงงานมีกำลังใจที่จะพัฒนาโครงการจนสำเร็จได้
ผู้จัดทำโครงงานขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้
ผู้จัดทำ
นาย ฐิติศักดิ์ พิทักษ์
นายรุ่งภพ หอยแก้ว
สารบัญ
เรื่อง
หน้า
บทคัดย่อ ก
กิตติกรรมประกาศ ข
บทที่ 1 บทนำ 1
แนวคิด
ที่มา และความสำคัญ
วัตถุประสงค์
ขอบเขตของโครงงาน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 2
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและอินเทอร์เน็ต
เว็บบล็อก (WebBlog)
บทที่ 3 วิธีดำเนินงานโครงงาน 11
วัสดุ
อุปกรณ์ เครื่องมือหรื โปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา
ขั้นตอนการดำเนินงาน
บทที่ 4 ผลการดำเนินงานโครงงาน 13
ผลการพัฒนาเว็บบล็อก
บทที่ 5 สรุปผลการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะ 14
การดำเนินงานจัดทำโครงงาน
สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
ข้อเสนอแนะ
บรรณานุกรม
ง
บรรณานุกรม
https://th.wikipedia.org/wiki/สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
#.E0.B8.A0.E0.B8.B9.E0.B8.A1.E0.B8.B4.E0.B8.A8.E0.B8.B2.E0.B8.AA.E0.B8.95.E0.B8.A3.E0.B9.8C
http://www.thai-aec.com/ประเทศอาเซียน-10-ประเทศ
https://mail.google.com/mail/u/0/#inbox
บทที่ 1
บทนำ
สาระสำคัญของโครงงาน
เทคโนโลยีทางการสื่อสาร
เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน เริ่มมีบทบาทในการดำเนินชีวิตของมนุษย์
และมีส่วนช่วยสนับสนุนสื่อทางด้านการศึกษาอีกด้วยโดยสื่อสมัยใหม่นิยมเป็น
สื่อการเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพราะ สะดวกรวดเร็วและเข้าถึงได้ง่าย
ในปีพ.ศ.2558นี้ประเทศไทยได้เข้าสู่ประชาคมอาเซียน
อย่างเต็มตัว เพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศในหลายๆด้าน
แต่ประชาชนหลายๆคนยังไม่รู้เลยว่า 'อาเซียนคืออะไร'
ข้าพเจ้าจึงคิดทำโครงงานเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อทางการศึกษาเรื่อง ''สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน''โดยได้รวบรวมข้อมูล เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนและจัดทำเป็นเว็บบล็อก
เพื่อเป็นประโยชน์กับบุคคลที่สนใจและเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาและพัฒนาเว็บบล็อก
เรื่อง สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน
2. เพื่อเป็นสื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
3. เพื่อเป็นประโยชน์กับบุคคลที่สนใจทั่วไป
ขอบเขตการศึกษา
ศึกษาโครงงานเกี่ยวกับ ประชาคมอาเซียน เพื่อพัฒนาสื่อผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยใช้โปรแกรม Blogger นำเสนอ
ประโยชน์ที่ได้รับ
1.
ได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
2.
ได้สื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
บทที่ 2
เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เรื่อง สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน คณะผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้าเสนอเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
ประชาคมอาเซียน
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Association
of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN)
เป็นองค์การทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ไทย บรูไน พม่า ฟิลิปปินส์ มาเลเซียลาว เวียดนาม สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,435,670 ตารางกิโลเมตร
มีประชากรราว 590 ล้านคน ในปี
พ.ศ. 2553 จีดีพีของประเทศสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นลำดับที่ 9 ของโลกเรียงตามจีดีพี อาเซียนมีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ
อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา
ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย
และฟิลิปปินส์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน ปฏิญญากรุงเทพ อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก
และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค
และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา
อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะประกอบด้วยสามด้าน คือ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558
·
วัตถุประสงค์
จากสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการสรุปแนวทางของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้จำนวนหกข้อ
ดังนี้
1.
ให้ความเคารพแก่เอกราช อำนาจอธิปไตย
ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด
2.
รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิที่จะปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอก
การรุกรานดินแดนและการบังคับขู่เข็ญ
3.
จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่น
ๆ
4.
ยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน
หรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติ
5.
ประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กำลัง
6.
ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ
·
ภูมิศาสตร์
ในปัจจุบัน
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยประเทศสมาชิกจำนวน 10 ประเทศ
คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร
และมีประชากรประมาณ 560 ล้านคน (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2549) ยอดเขาที่สูงสุดในภูมิภาค คือ ยอดเขาคากาโบราซีในพม่า ซึ่งมีความสูง 5,881 เมตร
และมีอาณาเขตติดต่อกับจีน อินเดีย บังกลาเทศ
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น
อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 27-36 °C พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าฝนเขตร้อน
ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลก ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าสน
ป่าหาดทรายชายทะเล ป่าไม้ปลูก มีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง
สับปะรด ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และพริกไทย
·
การเมือง
ประธานอาเซียน
กฎบัตรอาเซียน
ข้อ 31 ระบุว่า
ตำแหน่งประธานอาเซียนจะเวียนกันทุกปีตามลำดับพยัญชนะภาษาอังกฤษของชื่อรัฐสมาชิก
รัฐสมาชิกที่เป็นประธานจะเป็นประธานการประชุมสุดยอดอาเซียนและการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
ได้แก่ สภาประสานงานอาเซียน สภาประชาคมอาเซียนสามสภา องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขาและข้าราชการอาวุโส
และคณะกรรมาธิการผู้แทนถาวร ประเทศพม่าเป็นประธานในปี 2557
สำนักเลขาธิการ
สำนักเลขาธิการอาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของอาเซียนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์
2519
ในตอนนั้นตั้งอยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศของอินโดนีเซีย สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งปัจจุบันตั้งอยู่ที่
70A Jalan Sisingamangaraja กรุงจาการ์ตา ซึ่งซูฮาร์โต ประธานาธิบดีอินโดนีเซียขณะนั้น ก่อตั้งในปี 2524
หน้าที่หลักของสำนักเลขาธิการอาเซียนคือเพิ่มประสิทธิภาพการประสานงานขององค์กรอาเซียน
และให้การนำโครงการและกิจกรรมของอาเซียนไปปฏิบัติมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เลขาธิการ
เลขาธิการอาเซียนได้รับแต่งตั้งโดยการประชุมสุดยอดอาเซียนเป็นระยะเวลาดำรงตำแหน่งห้าปี
สมัยเดียว โดยเลือกมาจากผู้มีสัญชาติรัฐสมาชิกอาเซียนตามลำดับพยัญชนะภาษาอังกฤษ
เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน
คือ เล เลือง มิญ ซึ่งดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2556–2561
·
ประชาคมเศรษฐกิจ
ประเทศ
|
ดัชนี (2557)
|
|
0.912
|
สูงมาก
|
|
0.856
|
สูงมาก
|
|
0.779
|
สูง
|
|
0.726
|
สูง
|
|
0.684
|
ปานกลาง
|
|
0.673
|
ปานกลาง
|
|
0.668
|
ปานกลาง
|
|
0.666
|
ปานกลาง
|
|
0.575
|
ปานกลาง
|
|
0.555
|
ปานกลาง
|
|
0.536
|
ต่ำ
|
กลุ่มอาเซียนได้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือในภูมิภาค
อันประกอบด้วย "หลักสามประการ" ของความมั่นคง
สังคมวัฒนธรรมและการรวมตัวทางเศรษฐกิจ การรวมกลุ่มกันในภูมิภาคได้ทำให้การรวมตัวทางเศรษฐกิจดำเนินไปอย่างรวดเร็ว
ซึ่งคาดว่าจะประสบความสำเร็จในการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558 ประชาคมเศรษฐกิจดังกล่าวจะมีประชากรรวมกัน 560 ล้านคน
และมูลค่าการค้ากว่า 1.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
เขตการค้าเสรี
รากฐานของการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเริ่มต้นมาจากเขตการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งเป็นการลดอัตราภาษีศุลกากรเพื่อให้สินค้าภายในอาเซียนเกิดการหมุนเวียน
เขตการค้าเสรีอาเซียนเป็นข้อตกลงโดยสมาชิกกลุ่มอาเซียนซึ่งกังวลต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่นของตน
ได้รับการลงนามในสิงคโปร์เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2535 ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ คือ บรูไน
อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย เวียดนาม (เข้าร่วมในปี 2538)
ลาว พม่า (เข้าร่วมในปี 2540) และกัมพูชา
(เข้าร่วมในปี 2542)
เขตการลงทุนร่วม
เขตการลงทุนร่วมมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนหมุนเวียนภายในอาเซียน
ซึ่งประกอบด้วยหลักการดังต่อไปนี้:
·
เปิดให้อุตสาหกรรมทุกรูปแบบเกิดการลงทุนและลดขั้นตอนตามกำหนดการ
·
ทำสัญญากับผู้ลงทุนในกลุ่มอาเซียนที่เขามาลงทุนในทันที
·
กำจัดการกีดขวางทางการลงทุน
·
ปรับปรุงกระบวนการและระเบียบการลงทุนให้เกิดความคล่องตัว
·
สร้างความโปร่งใส
·
ดำเนินการตามมาตรการอำนวยความสะดวกในการลงทุน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากเขตการลงทุนร่วมจะเป็นการกำจัดการกีดกันในกิจการเกษตรกรรม
การประมง การป่าไม้และการทำเหมืองแร่ ซึ่งคาดว่าจะสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2553 สำหรับประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนเป็นส่วนใหญ่
และคาดว่าจะสำเร็จในปี พ.ศ. 2558 สำหรับประเทศกัมพูชา ลาว
พม่าและเวียดนาม
การแลกเปลี่ยนบริการ
ข้อตกลงการวางกรอบเรื่องการแลกเปลี่ยนบริการเริ่มต้นขึ้นในการประชุมสุดยอดอาเซียนที่กรุงเทพมหานครในเดือนธันวาคม
พ.ศ. 2548 ภายใต้กรอบข้อตกลงดังกล่าว
รัฐสมาชิกของกลุ่มอาเซียนจะสามารถประสบความสำเร็จในการเจรจาอย่างเสรีในด้านการแลกเปลี่ยนบริการ
โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างกันมากขึ้น
ผลของการเจรจาการแลกเปลี่ยนบริการซึ่งได้เริ่มดำเนินการตามหมายกำหนดการเป็นรายเฉพาะจะถูกรวมเข้ากับกรอบข้อตกลง
ซึ่งหมายกำหนดการดังกล่าวมักจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มการแลกเปลี่ยนบริการ ในปัจจุบัน
พบว่ามีกลุ่มการแลกเปลี่ยนบริการจำนวนเจ็ดกลุ่มภายใต้กรอบข้อตกลงดังกล่าว
ตลาดการบินเดียว
แนวคิดเรื่องตลาดการบินเดียวเป็นความคิดเห็นที่เสนอโดยกลุ่มงานขนส่งทางอากาศอาเซียน
ได้รับการสนับสนุนในการประชุมการขนส่งอย่างเป็นทางการของอาเซียน และได้รับการอนุมัติโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคมนาคมของรัฐสมาชิก
ซึ่งจะนำไปสู่การจัดระเบียบน่านฟ้าเปิดในภูมิภาคภายในปี พ.ศ. 2558 โดยตลาดการบินเดียวมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดการคมนาคมทางอากาศระหว่างรัฐสมาชิกเป็นไปอย่างเสรี
ซึ่งสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มอาเซียนจากการเติบโตของการเดินทางทางอากาศในปัจจุบัน
และยังเป็นการเพิ่มการท่องเที่ยว การค้า
การลงทุนและการบริการให้กับรัฐสมาชิกทั้งหมด เริ่มตั้งแต่วันที่
1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ข้อจำกัดเสรีภาพทางอากาศที่สามและที่สี่ระหว่างเมืองหลวงของรัฐสมาชิกสำหรับบริการสายการบินจะถูกยกเลิก ในขณะที่หลังจากวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 จะมีเสรีภาพบริการการบินในภูมิภาค และภายในวันที่
1 มกราคม พ.ศ. 2554 จะมีการเปิดเสรีเสรีภาพทางอากาศข้อที่ห้าระหว่างเมืองหลวงทั้งหมด
ข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศนอกกลุ่มอาเซียน
อาเซียนได้เปิดการค้าเสรีกับประเทศภายนอกหลายประเทศ
ทั้งจีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และล่าสุด อินเดีย ข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศจีนได้สร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน ในปัจจุบัน
อาเซียนนั้นกำลังเจรจากับสหภาพยุโรปในการที่จะทำการค้าเสรีด้วยกันผลดีของข้อตกลงนั้น
คือการเปิดโอกาสการค้าของอาเซียน ให้มีศักยภาพและขยายตัวมากขึ้น รวมไปถึงการลงทุนจากต่างชาติด้วย ไต้หวันยังแสดงความสนใจที่จะทำข้อตกลงกับอาเซียน
แต่ได้รับการคัดค้านทางการทูตจากประเทศจีน
·
ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม
เมื่อก้าวเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่
21 ประเด็นปัญหาเริ่มมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
โดยกลุ่มประเทศสมาชิกได้เริ่มเจรจากันถึงข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม รวมไปถึง
การลงนามในความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน ในปี พ.ศ. 2545 ในความพยายามที่จะจำกัดขอบเขตของมลภาวะฟ้าหลัวในเขตพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ทว่าในพื้นที่ก็ยังเกิดปัญหาฟ้าหลัวในประเทศมาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2548 และปัญหาฟ้าหลัวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2549 ส่วนสนธิสัญญาฉบับอื่นที่ได้รับการลงนามโดยสมาชิกอาเซียนได้แก่ ปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก เครือข่ายกำกับดูแลสัตว์ป่าอาเซียนในปี พ.ศ. 2549 และ หุ้นส่วนเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยการพัฒนาความสะอาดและสภาพอากาศ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อปรากฏการณ์โลกร้อน และผลกระทบทางด้านลบต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ใน พ.ศ. 2550 ปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก ซึ่งลงนามในกลุ่มอาเซียน ร่วมกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย
ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงทางพลังงานด้วยการหาพลังงานทางเลือกเพื่อใช้ทดแทนเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์.
·
ความร่วมมือทางวัฒนธรรม
ความร่วมมือทางวัฒนธรรมนั้น
มีจุดประสงค์เพื่อที่จะช่วยสร้างภาพรวมในด้านต่าง ๆให้ดีขึ้น โดยการให้การสนับสนุน
ทั้งการกีฬา การศึกษา และกิจกรรมอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ความร่วมมือต่าง ๆ ดังนี้
รางวัลซีไรต์
ได้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่
พ.ศ. 2522
เพื่อมอบรางวัลแก่นักประพันธ์หรือนักเขียนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่ได้สร้างผลงานที่ดีมีชื่อเสียง ที่ประสบความสำเร็จในช่วงชีวิตของนักเขียนนั้น ๆ
ผลงานนั้นเป็นผลงานเขียนทุกประเภท ทั้งวรรณกรรมต่าง ๆ เรื่องสั้น กลอน
รวมไปถึงผลงานทางศาสนา ซึ่งจะมีการจัดงานที่กรุงเทพมหานคร
โดยมีเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์ไทยเป็นผู้พระราชทานรางวัล
สถาบันเพื่อการศึกษาขั้นสูงแห่งอาเซียน
เป็นองค์การเอกชนที่จัดตั้งขึ้น
ในปี พ.ศ. 2499
เพื่อที่จะพัฒนาระดับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น
ทั้งสถาบันการศึกษาระดับสูง การสอน การบริการสาธารณะที่ดีได้มาตรฐานที่สูงขึ้น
โดยสอดคล้องไปกับวัฒนธรรมและพื้นที่นั้น ๆ
อุทยานมรดก
ได้จัดตั้งขึ้นในปี
พ.ศ. 2527
และเริ่มใหม่อีกรอบในปี พ.ศ. 2547 เป็นการรวมรายชื่อของอุทยานแห่งชาติทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยมีจุดประสงค์ที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าไม้
ปัจจุบันมีรวมทั้งหมด 35 แห่ง
การสร้างเว็บบล็อก (Blogger)

·
ขั้นตอนที่ 2 จากนั้นทำการสมัคร
(สำหรับบุคคลที่ยังไม่มี Gmail ) ถ้ามีแล้วให้ล๊อกอินได้เลย
·
ขั้นตอนที่ 3 ให้กรอกข้อมูลตามความเป็นจริง
·
ขั้นตอนที่ 4 คลิกที่ปุ่มสร้างบล๊อกใหม่
·
ขั้นตอนที่5 พอคลิกแล้วจะขึ้นตามรูปจากนั้นให้กรอกข้อมูลลงไป
เลือกแม่แบบตามใจชอบ
·
ขั้นตอนที่ 6 คลิกปุ่มตามรูป
·
ขั้นตอนที่ 7 ใส่ข้อมูลต่างๆ
·
ขั้นตอนที่ 8 คลิกปุ่ม
"แสดงตัวอย่าง" ถ้าชอบแล้วกดบันทึก
บทที่ 3
วิธีการดำเนินโครงงาน
วิธีการดำเนินโครงงาน
วัสดุและอุปกรณ์
- โปรแกรม Microsoft
Word 2013
- เว็บไซต์ที่ให้บริการคือ http://www.blogger.com/
- เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารคือ www.facebook.com
, www.gmail.com , www.google.com
วิธีการดำเนินโครงงาน
ที่
|
ขั้นตอนในการดำเนินงาน
|
ระยะเวลาในการดำเนินงาน
|
||||||||||||||||
สัปดาห์ที่ 1
|
สัปดาห์ที่ 2
|
สัปดาห์ที่ 3
|
สัปดาห์ที่ 4
|
|||||||||||||||
1
|
คิดชื่อหัวข้อโครงงาน
|
|||||||||||||||||
2
|
ศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูล
|
|||||||||||||||||
3
|
จัดทำเค้าโครงงานเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
|
|||||||||||||||||
4
|
ศึกษาโปรแกรมBlogger ในการสร้าง
|
|||||||||||||||||
5
|
ออกแบบสื่อBlogger
|
|||||||||||||||||
6
|
จัดทำโครงงานสร้าง
สื่อ Blogger เรื่องโรคมะเร็ง
|
|||||||||||||||||
7
|
นำเสนอผ่านโปรแกรมBlogger
|
|||||||||||||||||
8
|
ทำเอกสารสรุปโครงงาน
|
|
บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงาน
การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์การพัฒนาเว็บบล็อก
(WebBlog) เรื่อง สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) และค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
เพื่อให้ผู้จัดทำโครงงานสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น
ตลอดจนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างครู เพื่อนและผู้สนใจทั่วไป ซึ่งมีผลการดำเนินงานโครงงาน ดังนี้
ผลการพัฒนาเว็บบล็อก
การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) เรื่อง สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน นี้ ผู้จัดทำได้เริ่มดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว แล้วได้สมัครเป็นสมาชิกเว็บบล็อกที่ชื่อ https://aeczuzy.blogspot.com/จากนั้นได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยได้นำเผยแพร่ที่เว็บบล็อกชื่อ http://aeczuzy.blogspot.comซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับสื่อสังคมในรูปแบบของ Social
Media ประเภทเว็บไซต์ facebook ของผู้จัดทำที่ชื่อ Kot'z rungpop'm ทั้งนี้เว็บบล็อกดังกล่าว
สามารถจัดการและเชื่อมต่อกับเว็บไซต์อื่นๆ ได้เป็นอย่างดี โดยทั้งครูที่ปรึกษา
เพื่อนๆในห้องเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้
โดยแสดงความเห็นในเนื้อหาและรูปแบบของการนำเสนออย่างหลากหลาย
ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์อย่างหลากหลายและรวดเร็ว
บทที่ 5
สรุป อภิปรายและข้อเสนอแนะ
การจัดทำโครงงานสื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน นี้สามารถสรุปผลการดำเนินโครงงาน
และข้อเสนอแนะ ดังนี้
5.1 การดำเนินงานจัดทำโครงงาน
5.1.1 วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1. เพื่อศึกษาและพัฒนาเว็บบล็อก เรื่อง สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน
2. เพื่อเป็นสื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
3. เพื่อเป็นประโยชน์กับบุคคลที่สนใจทั่วไป
5.1.2 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมหรือที่ใช้ในการพัฒนา
1. โปรแกรม Microsoft Word 2010
2. เว็บไซต์ที่ให้บริการคือ http://www.blogger.com/
3.เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารคือ www.facebook.com
,www.gmail.com, www.google.com
5.2 สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
การพัฒนาเว็บบล็อก (WebBlog) เรื่อง สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน นี้ ผู้จัดทำได้เริ่มดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่เสนอในบทที่ 3 แล้ว แล้วได้สมัครเป็นสมาชิกเว็บบล็อกที่ชื่อ https://aeczuzy.blogspot.com/จากนั้นได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา
โดยได้นำเผยแพร่ที่เว็บบล็อกชื่อ http://aeczuzy.blogspot.comซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับสื่อสังคมในรูปแบบของ Social
Media ประเภทเว็บไซต์ facebook ของผู้จัดทำที่ชื่อ Kot'z rungpop'm ทั้งนี้เว็บบล็อกดังกล่าว
สามารถจัดการและเชื่อมต่อกับเว็บไซต์อื่นๆ ได้เป็นอย่างดี โดยทั้งครูที่ปรึกษา
เพื่อนๆในห้องเรียนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้
โดยแสดงความเห็นในเนื้อหาและรูปแบบของการนำเสนออย่างหลากหลาย
ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้และเป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์อย่างหลากหลายและรวดเร็ว
5.3 ข้อเสนอแนะ
- เว็บไซต์ที่ให้บริการเว็บบล็อก คือ
เป็นเว็บบล็อกสำเร็จรูปที่ใช้ทำเว็บไซต์ได้ง่าย และรวดเร็ว แต่ถ้าเราใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม ก็จะส่งผลต่อการละเมิดลิขสิทธิ์และได้รับความรู้ที่ไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นผู้จัดทำควรเผยแพร่สิ่งที่ดี ๆ
ให้บุคคลที่เข้ามาเยี่ยมหรือศึกษาได้ความรู้และสิ่งดี ๆ
นำไปเผยแพร่ต่อให้ผู้อื่นมาศึกษาความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อไป
- ควรมีการจัดทำเนื้อหาของโครงงานให้หลากหลายให้ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
- ควรมีการจัดทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเพิ่มเติม
- ควรมีการจัดทำเนื้อหาของโครงงานให้หลากหลายให้ครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
- ควรมีการจัดทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเพิ่มเติม
5.4 ปัญหา อุปสรรค
และแนวทางในการพัฒนา
- ด้วยระยะเวลาอันจำกัด รวมทั้งกิจกรรมของโรงเรียน จึงทำให้การพัฒนาเว็บบล็อกเกิดความล่าช้าตามไปด้วย
- ด้วยระยะเวลาอันจำกัด รวมทั้งกิจกรรมของโรงเรียน จึงทำให้การพัฒนาเว็บบล็อกเกิดความล่าช้าตามไปด้วย
-
ด้วยระยะทางที่อยู่อาศัยของผู้จัดทำทั้งสองห่างไกลกันมากจึงเป็นอุปสรรคต่อการติดต่อสื่อสารและการทำงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น